ฝึกอบรม การให้ความรู้ ทางด้านเทคนิคและความสามารถของรถกระเช้า

ฝึกอบรม: การให้ความรู้ ทางด้านเทคนิคและความสามารถของรถกระเช้า
ทำไมต้องมีการให้ความรู้ ????
กฎหมายกำหนด : ผู้ควบคุมรถกระเช้า ต้องผ่านการฝึกอบรมตามประเภทของรถ
· ประเภทของรถกระเช้า
· ความปลอดภัยในการใช้งาน
· การใช้งานของรถกระเช้าแต่ละประเภท
· การควบคุมระบบขีดความสามารถ
· การปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน
· การตรวจสภาพความพร้อมก่อนใช้งาน
· การดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
· การทดสอบภาคทฤษฏี และ ภาคปฏิบัติ
การตรวจความพร้อมของรถกระเช้า หรือรถยกของ ปจ.2 โดยวิศวกร
กฎหมายกำหนด : การตรวจปจ 2.รถกระเช้าต้องมีการตรวจประจำอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี
หน้าที่ : นายจ้างต้องดูแล ตรวจสอบเครื่องจักรนั้น ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนการใช้งาน
วิศวกรต้องดำเนินการตรวจ : วิศวกรควรมีความรู้ตามประเภทของรถกระเช้า (ตามชนิดหรือประเภทของรถกระเช้า นั้นๆ)
การตรวจเกี่ยวกับอะไรบ้าง ????
· โครงสร้างของรถกระเช้า(การชำรุดเสียหาย ระบบกระเช้าไม่ชำรุด ผุกร่อน ไม่เสียรูป)
· ตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นส่วนหรือกลไก (การจับยึด ของชุดกระบอกไฮดรอลิค ล๊อคแหวนล๊อค น๊อตล้อขันแน่นตามกำหนด ชุดกล่องควบคุม)
· ตรวจและทดสอบระบบการควบคุม (ประกอบด้วยระบบการชาร์ท เบตเตอรี่ สายไฟ การยึดแน่น การรั่วซึม ระบบการขับเคลื่อน ระเบรก การบังคับเลี้ยวฯ)
· ตรวจสอบประวัติการบำรุงรักษา (การตรวจดูประวัติการซ่อม การทดสอบทวนการซ่อม ว่าเรียบร้อย หรือยัง)
· ทดสอบความสามารถในทำงานตามข้อกำหนด (การทดสอบ การทำงานตัวเปล่า ทดสอบการลงฉุกเฉิน)
· การแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องจักร ก่อนใช้งาน (การตรวจเมื่อพบข้อบกพร่อง หรือการห้ามใช้ก่อนซ่อมให้แล้วเสร็จ (เกี่ยวความปลอดภัย ฯลฯ)
· เอกสารคู่มือ nameplate ข้อกำหนดของรถ (เอกสารคู่มือ เสป๊คของรถ ข้อกำหนดเฉพาะ)
· หลักการการทดสอบ ด้านวิศวกรรม (การทดสอบ หาค่าเปลี่ยนแปลง การลดตัว ระยะเวลาการทดสอบ)
· ถ้ามีการแก้ไขดัดแปลง ???(ต้องมีเอกสาร มีการคำนวณการแก้ไขเชิงวิศวกรรม มีการทดสอบ ตามผู้ออกแบบแก้ไข ดัดแปลง)
https://www.asia-5.com/